วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

ขุดพบฟอสซิลสัตว์สายพันธุ์ใหม่

1015461ด้าน ดร.วราวุธ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการค้นพบฟอสซิลที่บริเวณภูน้อยมากกว่า 2,000 ชิ้น ทั้งไดโนเสาร์กินพืช  กินเนื้อ เทอโรซอร์ (สัตว์เลื้อยคลานบินได้) จระเข้ ฉลาม เต่า และปลา ถือเป็นการค้นพบแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการค้นพบปลานักล่าชนิดใหม่ของโลกมาแล้ว คือ อีสานอิกธิส เลศบุศย์ศี อย่างไรก็ตามในครั้งนี้ทางคณะวิจัยและผู้ขุดค้นได้พบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตชนิด ใหม่ 2 ชนิด คือ เต่า "ภูน้อยเซลีส ธีรคุปติ" (Phunoichelys thirakhupit) และฉลามน้ำจืด "อะโครดัส กาฬสินธุ์เอนซิล" (Acrodus kalasinensis) ซึ่งสัตว์ทั้ง 2 ชนิดได้รับการวิจัยโดย ดร.ไฮเยี่ยน ตง และตีพิมพ์ในวารสาร จีโอโลจีคอล แมกกาซีน ซึ่งเป็นเต่าขนาดเล็ก มีความยาวกระดองประมาณ 25 เซนติเมตร เป็นเต่าที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับเต่าโบราณที่อยู่ในหมวดภู กระดึงในประเทศไทย อยู่ในยุคจูแรสสิกตอนปลายอายุราว 150 ล้านปี ส่วนฉลามน้ำจืด อะโครดีส กาฬสินธุ์เอนซิน วิจัยโดย ดร.จิล คูนี และงานวิจัยได้ตีพิมพ์ในวารสารพาลีออนโทโลจิส ไซส์คริท โดยสิ่งที่ขุดค้นพบครั้งนี้เป็นฟอสซิลชิ้นส่วนของฟัน เกล็ด และเงี่ยงบริเวณครีบหลัง ซึ่งเป็นฉลามน้ำจืดสายพันธุ์อะโครดัสที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมาใน ประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 เม.ย. ที่ศูนย์เรียนรู้บรรพชีวินภูน้อย ต.ดินจี่ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ นายสุรพจน์ รัชชุศิริ รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วย รศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายเลิศบุศย์ กองทอง นายอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ นายบุญจันทร์ สอนบุญตา ปลัดอาวุโสอำเภอคำม่วง และ ดร.วราวุธ สุธีธร ผอ.ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ร่วมกันแถลงข่าวการค้นพบซากฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดใหม่ของโลก จำนวน 2 ชนิด โดยเป็นการค้นพบเต่าและฉลามน้ำจืด อายุกว่า 150 ล้านปี ด้าน รศ.ดร.ศุภชัย กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยฯได้ร่วมกับคณะวิจัยทำการขุดค้นที่บริเวณภูน้อย ต.ดินจี่ อ.คำม่วง มาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน โดยที่บริเวณภูน้อยมีการขุดค้นพบฟอสซิลสัตว์นานาชนิดที่เป็นสัตว์ยุคดึกดำ บรรพ์ เป็นการค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ของโลกหลายรายการ ที่ผ่านมาก็มีการขุดค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์กินพืชขนาดใหญ่ที่สุดมาแล้ว และยังมีการขุดค้นพบอีกจำนวนมากในบริเวณเขาภูน้อยแห่งนี้ เช่นเดียวกับการพบสัตว์น้ำ ทั้งปลาฉลามและเต่าน้ำจืด ที่ถือเป็นสายพันธุ์ใหม่ของโลก

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: ขุดพบฟอสซิลสัตว์สายพันธุ์ใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น