วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟอสซิลงูดึกดำบรรพ์เก่าแก่กว่าที่คิด70ล้านปี

948017ถัดมาคือ "ปอร์ตูกาโลฟิส ลิกนิเตส" (Portugalophis lignites) จากตอนกลางของโปรตุเกส มีความยาวที่สุดประมาณ 1.2 เมตร สันนิษฐานว่าล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ลูกไดโนเสาร์ กิ้งก่า นก และกบ เป็นอาหาร มีอายุราว 155 ล้านปี และสุดท้ายคือ "ปาร์วีแร็พเตอร์ เอสเตซี" (Parviraptor estesi) จากเมืองสวาเนจทางตอนใต้ของอังกฤษ มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร อายุ 144 ล้านปี ในจำนวนทั้งหมดนี้ ไม่มีตัวใดมีพิษ โดยฟอสซิลของงูพิษที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดคือราว 20 ล้านปี

ไมเคิล คาลด์เวลล์ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตาในแคนาดา ผู้นำการวิจัยในครั้งนี้ กล่าวในงานแถลงข่าวการค้นพบว่า วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในกลุ่มงู มีความซับซ้อนกว่าที่เราเคยคิดไว้มาก อันเดอร์วูดีและฟอสซิลอื่นๆ อีก 3 ชุด ชี้ให้เห็นว่า งูในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจนต่างไปจากญาติของมันในตระกูลสัตว์เลื้อยคลาน แม้อันเดอร์วูดีจะมีส่วนที่ยื่นออกมาข้างลำตัวคล้ายครีบ แต่ลักษณะกระโหลกศีรษะและฟันกลับแทบไม่ต่างไปจากงูในยุคปัจจุบันเลย โดยการหายไปของครีบเป็นผลมาจากวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอด ที่พวกมันจำเป็นต้องปรับตัวไปตามสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย

ทั้งนี้ คาลด์เวลล์และทีมของเขาหวังว่า จะมีการค้นพบฟอสซิลงูอื่นๆ อีก เพื่อหาคำตอบว่ามีบรรพบุรุษของงูที่เก่าแก่กว่านี้หรือไม่ และเขายังต้องการที่จะเติมเต็มช่องว่างทางความรู้ ในช่วงเวลาที่ขาดหายไปหลายสิบล้านปีนั้น.

(Nature Communications) รายงานการค้นพบของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ระบุว่า บรรพบุรุษที่เก่าแก่ที่สุดของงู มีอายุมากกว่าที่เคยมีการบันทึกไว้ราว 70 ล้านปี โดยการศึกษาฟอสซิลงูโบราณที่ผ่านมาบันทึกไว้ว่า งูมีชิวิตอยู่บนโลกนี้มาตั้งแต่ยุคครีเทเชียสตอนปลาย (Upper Cretaceous period) หรือประมาณ 94 - 100 ล้านปีที่แล้ว แต่จากการนำฟอสซิลงูในพิพิธภัณฑ์ 4 ชุด กลับมาตรวจวิเคราะห์อีกครั้ง กลับพบว่ามันน่าจะมีอายุราว 143 - 167 ล้านปีก่อน อยู่ในยุคจูราสซิคตอนกลาง (Middle Jurassic period) หรือช่วงสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาครั้งสำคัญของโลก ซึ่งก็คือการแยกตัวของมหาทวีปแพนเจีย (Pangaea supercontinent) ที่แตกออกมาเป็นทวีปกอนด์วานา (Gondwana) และทวีปลอเรเชีย (Laurasia)

ฟอสซิลงูที่เก่าแก่ที่สุดนี้ ถูกขุดพบในเหมืองปูนแห่งหนึ่งในมณฑลอ็อกฟอร์ดเชอร์ ทางตอนใต้ของอังกฤษ มีความยาวราว 25 ซ.ม. ได้รับการขนานนามว่า "เอโอฟิส อันเดอร์วูดี" (Eophis underwoodi) ตามชื่อของการ์ธ อันเดอร์วูด ผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของอังกฤษ ผู้เขียนผลงานการศึกษาสำคัญที่ใช้อ้างอิงเรื่องของงู ในช่วงคริสต์ทศวรรษปี 1960 อันเดอร์วูดี มีอายุราว 167 ล้านปี สันนิษฐานว่าล่าเหยื่อจำพวกปลาตัวเล็ก แมลง และลูกอ๊อด เป็นอาหาร เช่นเดียวกับฟอสซิลชุดที่ 2 ซึ่งมีชื่อว่า "ไดอาโบลฟิส กิลมอเร" (Diablophis gilmorei) ถูกค้นพบทางตะวันตกของรัฐโคโลราโดของสหรัฐ มีลำตัวยาวกว่าอันเดอร์วูดีเล็กน้อย มีอายุราว 155 ล้านปี

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: ฟอสซิลงูดึกดำบรรพ์เก่าแก่กว่าที่คิด70ล้านปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น