ผู้สื่อข่าวถามว่า ในที่ประชุมมีการหารือถึงข้อเสนอของนายเจษฏ์ โทณะวณิก กมธ.ยกร่างฯ เสนอให้แม่น้ำ 5 สายเว้นวรรคทางการเมือง 2 ปี หลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้นายคำนูณ ชี้แจงว่า ที่ประชุมได้มีการหารือ แต่เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า ควรบังคับแต่กมธ.ยกร่างฯ เพราะรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 57 ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าทำให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นกมธ.ยกร่างฯได้วางแผนตั้งแต่แรก ก่อนที่จะอาสาเข้ามาทำงานในขณะที่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นไม่ว่าเป็น สปช. สนช.ก็ไม่ได้รับรู้มาก่อนว่า เมื่อมาดำรงตำแหน่งจะต้องถูกห้ามดำรงตำแหน่งต่อไปหลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผล บังคับใช้ อีกทั้งรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีการห้ามดำรงตำแหน่งทุกภาคส่วนขณะนั้น ส่วนใหญ่จะห้ามดำรงตำแหน่งกมธ.ยกร่างฯเท่านั้น ซึ่งที่ประชุมไม่ได้มีการหารือถึงกรณีการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ(คสช.) และ ครม.
เมื่อเวลา 15.00 น.ที่รัฐสภา นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญแถลงความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาบทเฉพาะกาล ว่า ได้พิจารณาหมวด 2 การปฏิรูป เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม ส่วนที่ 1ว่าด้วย สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติโดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ไม่เกิน 120 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมาจากสปช. 60 คน สนช. 30 คนและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการปฏิรูปด้านต่าง ๆ 30 คน ส่วนคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเชี่ยวชาญในการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ไม่เกิน 5 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามมติของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป โดยให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาฯ และคณะกรรมการ ซึ่งทั้ง 2 องค์กรมีหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปพร้อมเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการ ปฏิรูปต่อรัฐสภา ครม.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ การปฏิรูปด้านอื่นจะกระทำได้ต่อเมื่อทั้ง 2 องค์กรต้องเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า เมื่อครม.ได้รับข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนฯและคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯครม.ต้อง พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอ หากไม่ดำเนินการตามข้อเสนอให้ชี้แจงเหตุผลต่อรัฐสภาและสภาขับเคลื่อนฯโดย เปิดเผยในกรณีที่สภาขับเคลื่อนฯเห็นว่า การปฏิรูปที่ครม.ไม่ดำเนินการเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งและมีมติด้วยคะแนน เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกสภาขับเคลื่อนฯให้มีการออกเสียงประชามติ ว่า จะต้องดำเนินการเรื่องนั้นหรือไม่ และผลการออกเสียงประชามติให้มีผลผูกพันครม.และสภาขับเคลื่อนฯให้ต้องปฏิบัติ ตามหากมีความจำเป็นต้องตราพ.ร.บ.ขึ้นใช้บังคับ ให้สภาขับเคลื่อนฯเสนอร่างพ.ร.บ.ต่อวุฒิสภาก่อน ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบให้ร่างพ.ร.บ.เป็นอันตกไปหากวุฒิสภาเห็นด้วยให้ส่งต่อ สภาผู้แทนราษฎร และถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นด้วยให้ดำเนินการตามมาตรา 156 แต่ถ้าไม่เห็นชอบกับวุฒิสภา ให้ส่งร่างพ.ร.บ.คืนไปยังวุฒิสภาหากวุฒิสภาลงมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงเกิน กว่า 2 ใน 3 ให้ถือว่า ร่างพ.ร.บ.นั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบรัฐสภา และหากเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอวุฒิสภาได้ก็ต่อเมื่อมีคำ รับรองของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้นายกฯต้องพิจารณาให้คำรับรองภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับร่างในกรณีที่นายกฯไม่แจ้งผลการพิจารณาภายในระยะเวลาที่ กำหนดให้ถือว่านายกฯให้คำรับรอง เมื่อถามว่า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ สามารถเข้ามาดำรงตำแหน่งสภาขับเคลื่อนฯได้หรือไม่นายคำนูณ ชี้แจงว่า มาตรา 306 วรรคสองกำหนดชัดเจนว่า ห้ามดำรงตำแหน่งใดบ้าง ซึ่งในที่นี้เข้าใจว่าสามารถเข้าไปเป็นสภาขับเคลื่อนฯได้ เมื่อถามย้ำว่า ในการตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เป็นการสืบทอดอำนาจหรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า ไม่ใช่เป็นการสืบทอดอำนาจ แต่เป็นการสืบทอดเจตนารมณ์มากกว่าในการปฏิรูปประเทศทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน ว่า จะทำอย่างไรให้กลไกในการปฏิรูปเดินหน้าต่อไป.
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
Source: กมธ.ฯเปิดทางแม่น้ำ4สายอยู่ยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น