ส่วนรัฐวิสาหกิจที่มี ผลการดำเนินงานและผลประกอบการดี แต่มีแนวโน้มเกิดปัญหาในอนาคต ต้องได้รับการดูแลเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ด้วย เช่น บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ที่จะได้รับผลกระทบจากการไม่ได้รับสัมปนจากรัฐในอนาคต และมีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งต้องทบทวนบทบาทตัวเอง เช่น ปรับเปลี่ยนภารกิจ ยุบรวม ยุบเลิก และเป็นรูปแบบเป็นหน่วยงานรัฐอย่างอื่น ขณะเดียวกันยังต้องสนับสนุนการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และสร้างความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานสากลด้วย
ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมาได้รับทราบรายงานผลการประเมินการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ปี 56 พบว่า หากประเมินตามระบบปัจจุบัน มีรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ที่มีผลประเมินต่ำสุด คือ องค์การตลาด (อต.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และธนาคารพัฒนารัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) เนื่องจากผลการดำเนินการตามนโยบาย และผลดำเนินงานด้านการเงินและที่ไม่ใช่การเงินไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนรัฐวิสาหกิจ 3 อันดับแรกที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ทั้งนี้หากใช้ระบบ ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจมาประเมิน พบว่า รัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ที่มีผลประเมินต่ำสุด คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) องค์การเภสัชกรรม และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ส่วนรัฐวิสาหกิจ 3 อันดับแรกที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการประปานครหลวง (กปน.)
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
Source: เปิดผลการประเมินรัฐวิสาหกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น