สุด ท้ายคือการมองโอกาสในการเปิดตลาดประเทศที่ถูกคว่ำบาตร เพื่อให้เป็นเป้าหมายใหม่ในการส่งออก เพราะปัจจุบันเรื่องนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งต้องเป็นท่าทีของไทยเองด้วย ว่าจะมองเรื่องนี้อย่างไร แต่ทั้งนี้ ธปท.อยากให้ภาคเอกชนจัดระบบต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ เพราะหากการคว่ำบาตรเริ่มลดน้อยลง จะทำให้ภาคเอกชนสามารถกลับเข้าไปทำธุรกิจหรือการค้าขายกับประเทศนั้นๆ ได้ทันที
อย่างไรก็ดี ธปท.ยืนยันว่าจะทำทุกวิถีทางภายใต้เครื่องมือที่มีอยู่ เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทเป็นอุปสรรคต่อภาคธุรกิจมากเกินไป แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องมือในระยะปานกลาง ดังนั้น ธปท.จึงอยากให้ทุกฝ่ายช่วยกัน และภาคเอกชนต้องเตรียมพร้อม ปรับตัว เพื่อช่วยเหลือตัวเองด้วย
"จาก การติดตามค่าเงินบาท เห็นว่าไม่ได้รุนแรงมากนัก เมื่อเทียบกับสกุลอื่น เงินบาทถือว่ายังมีเสถียรภาพ แต่ที่แข็งค่าขึ้นน่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินของประเทศคู่ค้าหลัก ๆ เช่น เยน ที่เดิมจาก 32 บาทต่อ 100 เยน เหลือเพียง 27-28 บาทต่อ 100 เยน ซึ่งกรณีนี้เป็นเรื่องของประเทศใดประเทศหนึ่ง"
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้เข้ามาหรือกับ ธปท. มีข้อสรุปที่ขอให้ธปท.ช่วยดูแลใน 3 เรื่อง โดยเรื่องสำคัญคือ อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งสภาหอฯ มองว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าเร็วกว่าสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศคู่แข่ง ทั้งนี้ ธปท.ได้ชี้แจงและทำความเข้าใจในมุมมองอัตราแลกเปลี่ยนว่า สาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจการเงินของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
Source: ธปท.ยันเงินบาทยังมีเสถียรภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น