วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สนช.รับหลักการกม.ลดคดีแพ่งในศาลฎีกา

968465ทั้งนี้สมาชิกสนช.ได้อภิปรายท้วงติง และสอบถามถึงความชัดเจนจากรัฐบาลว่า การออกกฎหมายฉบับนี้จะเป็นการกระทบสิทธิของประชาชนหรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ผ่านมา ได้รับรองการใช้สิทธิของประชาชนในการสู้คดีในชั้นศาลฎีกา  โดยนายวิษณุ ชี้แจงว่า หลักในการนำคดีขึ้นศาลฎีกาที่ผ่านมามักจะใช้ระบบสิทธิที่คู่ความสามารถนำคดี ไปสู่ศาลฎีกา ซึ่งกฎหมายนี้จะมีหลักการในการนำคดีขึ้นฎีกาผ่านระบบการให้อนุญาตโดยให้ศาล ฎีกาเป็นผู้พิจารณาเอง แต่ยืนยันว่าไม่ได้ตัดสิทธิของประชาชนหรือคู่ความในการสู้คดีที่ศาลฎีกา ระบบ 3 ศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา ยังอยู่เหมือนเดิมทุกประการ ไม่ได้ตัดตอนเหลือแค่สองศาลแต่อย่างใด ผู้พิพากษาศาลฎีกามีจำนวนน้อยประมาณ 140 คน แต่มีปริมาณคดีที่ขึ้นไปศาลฎีกาสะสมจำนวนมากประมาณ 20,000 - 25,000 คดีการ เพิ่มจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกา เพื่อพิจารณาคดีไม่ใช่ทำกันง่าย ๆเพราะต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาแนวทางบรรเทาคดีที่จะขึ้นไปที่ศาลฎีกา เช่น คดีที่ไม่เป็นสาระคดีที่ไม่ได้มีความสำคัญ คดีที่ประวิงเวลา ถ่วงเวลาเพื่อให้ได้ชื่อว่าสู้กันสามศาล ยืดเวลาที่จะบังคับคดี ทั้งนี้ในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญของสนช.สามารถปรับปรุงให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความจำเป็นได้ ซึ่งรัฐบาลและสำนักงานยุติธรรมพร้อมจะให้ความร่วมมือต่อไปเมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่รัฐสภาในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.ได้มีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง (แก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา) ด้วยคะแนน 168 ต่อ 9 คะแนน งดออกเสียง 13   โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงหลักการร่างกฎหมาย ว่า เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการนำคดีแพ่งขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาจากเดิมที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในส่วนการฎีกาไม่สามารถกลั่นกรองคดีที่ไม่เป็นสาระอันควรแก่การวินิจฉัยของ ศาลฎีกาได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้การพิจารณาคดีของศาลฎีกาเกิดความล่าช้า จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์คดีที่จะสามารถนำมาพิจารณาในศาลฎีกาจำนวน 6 ข้อ ได้แก่ 1.ปัญหาเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ 2.เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของ ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกันหรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกา 3.คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัย ข้อกฎหมายที่สำคัญ ซึ่งยังไม่มีแนวคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกามาก่อน 4.เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่ สุดของศาลอื่น 5.เพื่อเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมาย และ 6.ปัญหาสำคัญอื่นตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา

แหล่งที่มา  :  เดลินิวส์

Source: สนช.รับหลักการกม.ลดคดีแพ่งในศาลฎีกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น