ที่ผ่านมา เนปาลเคยได้รับการยกย่องในการที่ไม่มีอาชญากรรมเกี่ยวกับการล่าเสือเกิดขึ้น เลย 2 ปี ซ้อน และในระหว่างปี 2552 - 2556 ยังมีประชากรเสือเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ใน 3 โดยนายเดวิด ลอว์สัน จากโครงการอนุรักษ์เสือของดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ ความร่วมมือระหว่างกันนับเป็นหัวใจสำคัญของการต่อสู้ครั้งนี้ หน่วยงานระดับรัฐบาลควรตระหนักถึงสถานการณ์การคุกคามปัจจุบันที่นับว่าอยู่ ในขั้นวิกฤต
รายงานขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการสงวนทรัพยากรธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) ระบุว่า ประชากรเสือจากทั่วโลกจากเมื่อราวศตวรรษก่อนที่มีประมาณ 100,000 ตัว ลดลงเหลือเพียงประมาณ 3,000 ตัวในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากการลักลอบค้าสัตว์ป่าและทำลายพื้นที่อยู่อาศัยในช่วงไม่กี่ สิบปีที่ผ่านมา โดยอวัยวะส่วนต่างๆ ของเสือเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมากเพราะมีความเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยาที่ ดีเยี่ยม.สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ว่า รัฐบาลเนปาลและองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) จัดประชุมหารือที่กรุงกาฐมาณฑุเป็นเวลา 5 วัน สิ้นสุดเมื่อวันศุกร์ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์แนวทางป้องกันการล่าเสือในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยมีตัวแทนนักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มการเมือง ราว 100 คน จากอีก 12 ประเทศที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยสำคัญของเสือเข้าร่วม ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฏาน จีน กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ รัสเซีย ไทย และเวียดนาม โดยประเทศเหล่านี้ได้ให้คำมั่นร่วมกันเมื่อปี 2553 เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรเสือให้ได้ 2 เท่า ภายในปี 2565
แห่ลงที่มา : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น