เมืองขึ้นอีก ทางกมธ.ยกร่างฯจึงนำเสนอเป็น 4 แนวทาง คือ 1. ถ้านายกรัฐมนตรีเป็นส.ส.อยู่ได้ไม่เกิน 4 ปี แต่ถ้าไม่ใช่ ส.ส.ให้อยู่ 2 ปี เนื่องจากเป็นบุคคลภายนอกสภา 2.ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้ง ให้หัวหน้าพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งให้เข้ารับการคัดเลือกจากสภา ผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรี 3.ให้กำหนดว่า เสียงที่จะใช้สนับสนุนนายกฯคนนอกต้องใช้เสียง 3 ใน 4 ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด และ 4 ให้ยึดตามร่างบทบัญญัติที่ฝ่ายเลขานุการฯได้นำเสนอ คือนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส.เพราะเรื่องสำคัญไม่ควรเขียนให้แคบ แต่ควรเขียนให้กว้าง เพื่อไม่ให้เข้าข่ายว่าเป็นการบังคับ สุดท้ายที่ประชุมตัดสินใจใช้ให้มีการโหวตตัดสิน เฉพาะสมาชิกที่อยู่ในห้องประชุม เป็นรายบุคคลว่า สนับสนุนแนวทางใด ผลปรากฎว่าที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่ประมาณ 17 เสียงสนับสนุนให้คงหลักการตามร่างที่ฝ่ายเลขานุการฯได้นำเสนอเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีนายบวรศักดิ์ ได้ใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง อภิปรายถกเถียง มาตรา 174 ที่กำหนดให้ ส.ส.เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี โดยไม่ได้กำหนดว่า ต้องเป็น ส.ส. เหมือนในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา เนื่องจาก กมธ.เสียงข้างน้อยมองว่า ตามที่เคยหารือกันเบื้องต้น ได้มีความเห็นร่วมกันว่า จะกำหนดให้ที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้เป็น ส.ส.นั้น ทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นช่วงที่เกิดวิกฤติทางการเมืองเท่านั้น ทั้งยังเสนอข้อห่วงกังวลว่า การเลือกนายคนนอกได้ อาจจะย้อนยุคกลับไปหาเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ที่จะทำให้ให้เกิดปัญหาทางการ
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น