การจัดการแสดงผลงานร่างมนุษย์ของนายฮาเกนส์เริ่มต้นครั้งแรกที่ประเทศ ญี่ปุ่นเมื่อปี2538 และนับจากนั้นได้เดินสายจัดแสดงผลงานใน23ประเทศทั่วโลก ซึ่งร่างของศพที่ผ่านกระบวนการทำพลาสติเนชันจะถูกจัดท่าให้อยู่ในอิริยาบท ต่างๆ เช่น ท่ากำลังเล่นสเก็ตบอร์ด กำลังเต้นรำ หรือแม้แต่กำลังเล่นยิมนาสติก เพื่อเผยให้เห็นความซับซ้อนของร่างกายมนุษย์
การเปิดพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้ต้องเผชิญกับข้อคัดค้านทางกฎหมาย เนื่องจากเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายการฝังศพ ขณะที่นายฮาเกนส์ที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันมีแผนที่จะบริจาคร่างกายเพื่อนำมา จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เช่นกัน โดยเมื่อปี2552 เขาได้จัดแสดงผลงานร่างกายมนุษย์ในท่วงท่ากำลังมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเบอร์ลิน หลังจากนั้น1ปีต่อมาศาลสูงสุดของฝรั่งเศสมีคำสั่งห้ามจัดแสดงร่างมนุษย์ที่ ทำพลาสติเนชันภายในประเทศ
งนีการเปิดพิพิธภัณฑ์จัดแสดงร่างกายมนุษย์ดังกล่าวมีขึ้นเพื่อต้องการให้ ความรู้แก่ผู้เยี่ยมชม แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของร่างกายมนุษย์ ซึ่งมีแขกผู้มีเกียรติจำนวนมากเข้าร่วมงานเปิดตัวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นคือนางแองเจลิน่า วาลเลย์ ภรรยาของนายฮาเกนส์ และนายเด็ทเลฟ ฟอน เว็งเลอร์ วัย61ปี อาสาสมัครที่ลงชื่อบริจาคร่างกายเพื่อทำพลาสติเนชันหลังจากเสียชีวิต
ในการทำพลาสติเนชันจะทำการลอกผิวหนังผู้ที่เสียชีวิตออก ก่อนจะเก็บรักษาร่างกายด้วยเรซินสังเคราะห์ ซึ่งจะเผยให้เห็นถึงมัดกล้าม เส้นประสาท และเอ็นกล้ามเนื้อในสภาพเปลือยเปล่า ด้านผู้จัดงานเผยว่าขณะนี้มีผู้ลงชื่อบริจาคร่างกายเพื่อทำพลาสติเนชันจาก ทั่วโลกกว่า15,000คน สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่18ก.พ.ว่า หลังจากการเดินสายจัดแสดงผลงานการเก็บรักษาศพไปทั่วโลกเป็นเวลาถึง20ปี นายกุนเธอร์ ฟอน ฮาเกนส์ นักกายวิภาคศาสตร์ชาวเยอรมนีที่ได้รับฉายาว่า “หมอแห่งความตาย” ได้ฤกษ์เปิดพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานการเก็บรักษาศพด้วยกระบวนการพลาสติเนชัน จำนวน20ร่าง รวมทั้งอวัยวะมนุษย์อีก200ชิ้น ที่หอคอยโทรทัศน์ จุดท่องเที่ยวสำคัญในจัตุรัสอเล็กซานเดอร์ปลาซ กรุงเบอร์ลิน
แหล่งที่มา : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น